วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สื่อบันทึกข้อมูลเเบบซีดี

สื่อบันทึกข้อมูลเเบบซีดี

ดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage
   Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
   เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน
   จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น
  ประเภทของซีดีรอม 

             เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของ
   ซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปก
   สีเหลือง เป็นต้น
            ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
  - Yellow CD หรือ DATA Storage CD
  - Red CD / Audio CD
  - CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
  - Mixed Mode CD

             Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD 
   เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูล
   ที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ
   โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์
   ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ

   การใช้งาน DATA-CD 
   - ใช้เก็บข้อมูล
   - สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ
   - สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์
   - สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน
           Red CD / AudiO CD 
   รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน
   Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี
   Track ได้ 99 Track

             CD-ROM XA หรือ Multi-session CD 
   Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกัน
   หนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-
   session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม

   ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session 
   - การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
   - สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล
               Mixed Mode 

   Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track
   ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์

   อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้
   บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่า
   ปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติ
   เครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภทนี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ
   CD Extra 

             CD Extra 
   CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอม
   ปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว
  CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น
   Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมา
   เล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับ
   เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก

   คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิต
   ภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session

   คุณสมบัติของแผ่นซีดีรอม
  CD-ROM เป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายต่างจากสื่อประเภทอื่นหลายประการด้วยกัน เช่น
  - ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบท์ เทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน
   300,000 แผ่น หรือหนังสือสารานุกรม 1 ชุดจำนวน 24 เล่ม หรือภาพสี 5,000 ภาพ หรือเท่ากับข้อมูลในแผ่น floppy disk ขนาด 104 เมกกะไบท์ 460 แผ่น หรือ
   ใน hard disk ขนาด 20 เมกกะไบท์ ถึง 34 ชุด ถ้าบุคคลคนหนึ่งอ่านหนังสือหนึ่งหน้าต่อหนึ่งนาทีโดยไม่หยุดพักในเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน ประมาณว่าจะต้องใช้เวลา
   เกือบ 11 เดือนจึงจะอ่านข้อมูลในแผ่น CD-ROM แผ่นหนึ่งได้หมด   - บันทึกข้อมูลนานาประเภท อยู่ในลักษณะของดิจิทัล ( digital encoding ) สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิค
   เสียงพูด และเสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง  - การสืบค้นฉับไว CD-ROM บรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศษลแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำภายในเวลาเพียง1 วินาทีเท่านั้น   - มาตรฐานสากล แผ่น CD-ROM มีรูปแบบมาตราฐานจึงสามารถใช้กับหน่วยขับ CD-ROM หรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วไปได้เหมือนกัน   - ราคาไม่แพง ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นซีดีรอมมีราคาถูกลงอย่างมากและมีอย่างแพร่หลาย   - อายุการใช้งานนาน CD-ROM มีอายุการใช้งานนาน แต่แผ่นก็สามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและความร้อนต่างๆ  - ความคงทนของข้อมูล CD-ROM เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตลอดไป และที่สำคัญ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถเขียน
   ทับได้
  - ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่น CD-ROM กับแผ่น floppy disk แล้ว จะเห็นได้ว่า CD-ROM แผ่นหนึ่ง สมารถบรรจุข้อมูลได้
   มากกว่าแผ่น floppy disk หลายร้อยเท่า จึงทำให้ประหยัดเงินในการใช้ CD-ROM เพียงแผ่นเดียวแต่บันมึกข้อมูลได้มากกว่า
  - ความสะดวก เนื่องจาก CD-ROM เป็นแผ่นที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้โดยสะดวก และส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย
   โดยทางไปรษณีย์

   กระบวนการผลิตซีดีรอม 

               การผลิตซีดีรอมไม่เหมือนกับการผลิตแผ่นเสียง ขั้นตอนแรก คือการสร้างแผ่นมาสเตอร์ข้อมูล ที่จะถูกบันทึกลงบนแผ่นมาสเตอร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นภาพ
   เสียง หรือข้อมูลทั่วไป ซึ่งจะ มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต่างกัน โดยใช้กำลังแสงเลเซอร์ที่มีควมเข้มข้นสูงมากกว่าเครื่องเล่น ซีดีทั่วไปหลายเท่าตัว ดังนั้นจึงต้องใช้เทคนิค
   การถอดรหัสข้อมูลแบบพิเศษที่เรียกว่า miroscopic pits เมื่อได้แผ่นซีดีมาสเตอร์แล้วจึงนำมาใช้ทำเป็นปั๊มโลหะต้นแบบเพื่อทำสำเนาต่อไป การผลิตแผ่นซีดีรอมทั่วไป
   จะใช้แผ่น ซีดีเปล่ามาทำการปั๊มด้วย master stamps หลังจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสาร Poly carbonate บางๆซึ่งจะทำให้แผ่นซีดี ดูสะท้อนแสงเป็นเงาแวววาว
   และเป็นส่วนที่สะท้อนแสงที่ยิงมาจากตัวกำเนอแสงเลเซอร์ในไดรฟ์ซีดีรอม จากนั้นก็นำมา เคลือบด้วยแล็กเกอร์บางๆอีกหนึ่งขั้นสุดท้ายก็พิมพ์สลากรายละเอียด ของ
   แผ่นดิสก์ ติดด้านบนของแผ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย พื้นผิวที่เป็นส่วนเก็บข้อมูลอยู่บริเวณด้านบนของแผ่นซีดีรอมนั่นเอง นั่นคืออยู่ชั้นถัดลงไปจากสลากที่ติดทับเอาไว้ และ
   ไดร์ฟซีดีรอมอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีด้านล่างของแผ่น โดยโฟกัสแสงเลเซอร์ผ่านความหนา 1.2 มิลลิเมตร ของสารโพลีคาร์บอเนต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมด้านล่างของ
   แผ่นซีดีรอมที่รอยขีดข่วนเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผล เสียหายต่อข้อมูลในแผ่น เพราะรอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยไม่สามารถเข้าลึกไปถึงส่วนที่เก็บข้อมูลเอาไว้
   ในอีกมุมหนึ่ง รอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายสารโพลีคาร์บอเนตที่เคลือบไว้อย่างบางๆได้ ซึ่งจะมีผลทำให้แผ่นซีดีรอมเสียหายทันที แม้
   แผ่นซีดีรอมทนทานกว่าแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ แต่จะโค้งงอได้อย่างง่ายดาย หากถูกทิ้งไว้กลางแดด ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาแผ่นอย่างถูกวิธี โดยการใส่ไว้ใน caddy
   หรือกล่องใส่แผ่นซีดีโดยเฉพาะ

ชนิดของข้อมูล

ชนิดของข้อมูล




1.      ข้อมูลชนิดข้อความ  (Text File) เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักขระ  ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆที่เก็บรวบรวมเป็นแฟ้มเช่นแฟ้มหนังสือเข้าหนังสือออก  แฟ้มใบสมัครงาน  แฟ้มทะเบียนนักเรียน  แฟ้มชื่อและที่อยู่ของสมาชิก  เป็นต้น  ข้อมูลชนิดนี้มักมีขนาดเล็ก  ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำไม่มากนัก  การค้นหาและเข้าถึงทำได้เร็ว
2.      ข้อมูลชนิดตัวเลข  (Numeric  data)  เป็นข้อมูลที่ใช้แทนระบบจำนวน  โดยใช้รหัสเป็นตัวเลขแทนชื่อของข้อมูล  และตัวเลขแสดงจำนวน  เมื่อต้องการแสดงผล เป็นข้อความจึงนำรหัสไปเทียบกับแฟ้มที่เก็บข้อมูลชนิดข้อความ เช่น สถิติการใช้ห้องสมุด  เครื่องคิดราคาสินค้า  อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา  เป็นต้น  ข้อมูลชนิดนี้จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บและแสดงผลน้อยเช่นเดียวกับข้อมูลชนิดข้อความ  
3.      ข้อมูลที่เป็นรูปแบบ (Formatted data)  เป็นข้อมูลที่ถูกกำหนดรูปแบบในการจัดเก็บไว้อย่างมีแบบแผน เช่น จัดเก็บเป็นรหัสข้อมูล  เมื่อนำมาใช้งานต้องแปล ความหมายของรหัสนี้ก่อน  ข้อมูลเหล่านี้มักเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก  เช่น  ข้อมูลการเงินของระบบธนาคาร  ข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับของหน่วยงานที่จำเป็นต้องส่งออกไปภายนอกจะเข้ารหัสตามรูปแบบที่กำหนดขึ้นมาในหน่วยงาน  เพื่อไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูข้อมูล
           3.1  ข้อมูลรูปภาพ  (Image  file)  ใช้ภาพแทนข้อมูล  เช่น  ใช้เครื่องสแกนเอกสารทั้งฉบับมาเก็บเป็นแฟ้มภาพ  ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล  แผนที่  แผนผัง  ภาพลายนิ้วมือ  ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวชนิดต่างๆ การเก็บบันทึกข้อมูลภาพต้องคำนึงถึงงานที่จะนำไปใช้  เพราะแฟ้มภาพชนิดต่างกันจะใช้พื้นที่ในการเก็บไม่เท่ากัน  ภาพที่มีความคมชัดสูงจะมีขนาดของแฟ้มภาพใหญ่ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมาก  ภาพที่ส่งเข้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรเป็นภาพชนิดที่ใช้พื้นที่ในหน่วยความจำน้อย เช่น ภาพชนิด  .jpg  เพื่อให้รับ – ส่งภาพได้รวดเร็ว  ภาพที่แสดงบนจอของคอมพิวเตอร์เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีของแสงจึงมีแม่สีเป็นแดง (red) เขียว (green) และน้ำเงิน (Blue)  ใช้อักษรย่อเป็น  RGB  ส่วนภาพที่ใช้งานพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ในโรงพิมพ์เป็นภาพชนิด สี คือ  เหลือง (Yellow, ม่วง (Magenta,ฟ้า (Cyan)  และ  ดำ (Black)  ใช้อักษรย่อเป็น  YMCK  สีดำไม่ใช้อักษรย่อเป็น  B  เพราะจะไปซ้ำกับสีน้ำเงินจึงใช้อักษรย่อตัวสุดท้ายของชื่อสีแทน  
           3.2 ข้อมูลเสียง  (Audio/Sound) เป็นข้อมูลที่เก็บในรูปแบบของแฟ้มเสียง  เช่น  แฟ้มชนิด  MIDI   หรือ  Wave  ตลอดจนข้อมูลเสียงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ

                   ข้อมูลเสียงชนิด  Wave                   เป็นข้อมูลที่ได้จากการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าโดยตรงแล้วจัดเก็บเป็นข้อมูลของเสียงทั้งหมดทำให้ขนาดของแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ส่วนข้อมูลเสียงชนิด  MIDI(Musical Instrument Digital Interface) เป็นข้อมูลที่มีขนาดเล็กกว่าเพราะเก็บเป็นสัญญาณของเสียงไว้เท่านั้นเมื่อมีการเรียกใช้จะนำสัญญาณนี้ไปเทียบกับตารางเสียง (Wave table) ที่แยกออกไปอีกส่วนหนึ่งให้ส่งเสียงออกมา 

ความหมายของสื่อบันทึกข้อมูล

ความหมายของสื่อบันทึกข้อมูล


        คือ สื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเอามาเก็บข้อมูลอะไรก็ ได้เหมือนกับแผ่นดิสค์ที่ใช้อยู่ทั่วๆไป อุปกรณ์เหล่านี้จะใช้กับ กล้องดิจิตอล เป็นส่วนใหญ่ทำให้หลายท่านเข้าใจว่า อุปกรณ์พวกนี้สามารถเก็บได้เฉพาะรูปภาพเท่านั้น ซึ่งเป็น ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง สื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้งานได้กับ อุปกรณ์ อื่นๆ ได้อีกอาทิเช่น PDA, Music Player, Electronic Books, Handheld PCs, Mobile Phones, Notebooks/PCs, Voice Recorders เป็นต้น จุดเด่นของอุปกรณ์ที่เรากำลังพูดถึงนี้คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลได้ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายประเภทดังนี้



สื่อบันทึกข้อมูล

สื่อบันทึกข้อมูล

อุปกรณ์ สื่อบันทึกข้อมูลและเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล
1.    Floppy Disk
         แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น    อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)
         ฟลอปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถือได้ว่าอยู่ยั่งยืนมานานแสนนานและยังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในอดีตฟลอปปี้ดิสก์จะมีขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งเป็นแผ่นใหญ่บรรจุข้อมูลได้ 1.2 เมกะไบต์จะบรรจุได้น้อยกว่าฟลอปปี้ดิสก์รุ่นใหม่ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะบรรจุข้อมูลได้มากกว่า 1.44 เมกะไบต์ในขนาดของแผ่นที่เล็กกว่า 
1.1    ระบบการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์
กลไกการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์จะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์ (Mylar ) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูลและจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรมทีละบิตต่อเนื่องกัน ขณะที่ฟลอปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟลอปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
1.2    ความจุของฟลอปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
ขนาด
แบบที่เรียกว่า
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.2 นิ้ว
Single sided-Double Density
1
160/180 KB
5.2นิ้ว
Double sided-Double Density
2
320/360 KB
5.2นิ้ว
HD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Single Density
2
720 KB
3.5 นิ้ว
Double sided-High Density
2
1.44 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้ว
Floptical Disk
2
120 MB



2.    Harddisk
ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง ( hard disk ) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน      มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard ) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน ( PATA ) แบบอนุกรม ( SATA ) และแบบเล็ก ( SCSI ) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบีสายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA ) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 ถึง 250 กิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


3.    CD-ROM Drive
 แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
3.1        การทำงานของ CD-ROM
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก แลนด์ สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก พิต ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ และ แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด และ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

4.    DVD-ROM Drive
         ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่าdigital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
         4.1    คุณสมบัติของดีวีดี
                      4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
                      4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
                      4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
                      4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง32 ภาษา
                      4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
                      4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
                      4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
                      4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
         4.2    ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
                 4.2.1 DVD-R  
                      4.2.2 DVD+R   
                      4.2.3 DVD-RW   
                      4.2.4 DVD+RW  
                      4.2.5 DVD-R DL   
                      4.26 DVD+R DL




5.    แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
                แฟลชไดรฟ์ หรือ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของไดร์ฟมีตั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) บางรุ่นมีความจุสูงถึง 16 GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง ทัมบ์ไดรฟ์    คีย์ไดรฟ์   “จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
5.1    ชื่อเรียกอื่น
ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
5.1.1 คีย์ไดรฟ์ (key drive)
5.1.2 จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
5.1.3 ดาต้าคีย์ (data key)
5.1.4 ดาต้าสติ๊ก (data stick)
5.1.5 ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
5.1.6 ทัมบ์ไดรฟ์ (thumb drive)
5.1.7 ทัมบ์คีย์ (thumb key)
5.1.8 เพนไดรฟ์ (pen drive)
5.1.9 ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
5.1.10 แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
5.1.11 แฟลชดิสก์ (flash disk)
5.1.12 เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
5.1.13 ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
5.1.14 ยูเอสบีคีย์ (usb key)


เทคโนโลยี Blu-Ray
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm

เทคโนโลยี HD-DVD
HD DVD ( High Definition DVD หรือ High Density DVD ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง ( optical disc ) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ( high definition ) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม ( เส้นผ่านศูนย์กลาง12 ซม. )


   Floptical Disk
เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120เมกะไบต์ทีเดียว และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย  ชื่อทางการค้าของ

ที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ SuperDisk จากบริษัท Imation
8.1    หลักการของ
Floptical Drive
หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่าoptical servo (หรือบางทีเรียกว่า Laser servo)หรือวงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ตธรรมดามาก เช่น ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ใน Floptical disk จะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทำให้ได้ความจุรวมถึง 120เมกะไบต์ต่อแผ่น Floptical disk หมุนด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมีอัตรารับส่งข้อมูล ประมาณ 3.2-5.4 เมกะบิตต่อวินาที


ZIP drive ของ Iomega  Jazz drive
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายกัน แต่รูปแบบต่างกันไป เช่น Zip Drive จาก Iomega ที่ออกมาก่อน Superdisk แต่ได้รับความนิยมมากพอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับParallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก100 เป็น 250 เมกะไบต์ Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบ SCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก
10.    เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup )
เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลทีมีขนาดใหญ่ๆ ระดับ 10-100 กิกะไบต์
11.    การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ ( Personal Data Assistant PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

หน้าแรก

   MY INFORMATION


ชื่อนาย ณัฐชนน ค้าสม

ชื่อเล่น บุ๊ค

กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิคพะเยา

แผนก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Facebook : https://www.facebook.com/Booknutchanon